วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สร้างไดนามิกเว็บจาก Drupal และฐานข้อมูล PostgreSQL

        หลังจากติดตั้ง Apache2, Php5, MySQL-Sever, PostgreSQL, PhpMyadmin,
PhpPgadmin แล้ว ระบบก็สามารถให้บริการพื้นที่ และฐานข้อมูลสำหรับการทำเว็บเพจ โดยมี
Apache บริการภาษา HTML, Perl, Php สำหรับการทำเว็บ MySQL และ PosgreSQL
สำหรับบริการข้อมูลสำหรับการทำเว็บ และภาษา Php และ Perl สำหรับติดต่อระหว่างฐานข้อมูล
กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Apache)
        ในที่นี้ผู้เขียนเลือกใช้ฐานข้อมูล PostgreSQL สำหรับเก็บข้อมูลในการทำเว็บ ติดต่อฐาน
ข้อมูลกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยภาษา Php และใช้ Drupal จาก www.drupal.org สำหรับการ
สร้างไดนามิกเว็บที่สามารถเขียน แก้ไข อัปโหลดผ่านเว็บบราวเซอร์ Drupal สามารถเลือกใช้
ฐานข้อมูลได้ทั้ง PostgreSQL และ MySQL
        การติดตั้งมีขั้นตอนดังนี้
        1.  ปรับแก้ฐานข้อมูล PostgreSQL โดยกำหนดรหัสผ่านของ postgres ซึ่งเป็น user
หลักของฐานข้อมูล PostgreSQL เพิ่ม user ของ PostgreSQL เพื่อให้สร้างฐานข้อมูลได้

submarine@debian7:~$ su   --> เปลี่ยนผู้ใช้เป็น superuser (root)
Password: --> ใส่รหัสผ่านของ root (รหัสจะไม่แสดงขณะที่พิมพ์)
root@debian7:/home/submarine# passwd postgres --> คำสั่งเพื่อกำหนดรหัสผ่าน
Enter new UNIX password: --> เติมรหัสผ่านที่ต้องการ
Retype new UNIX password: --> ยืนยันรหัสผ่านที่ต้องการ
passwd: password updated successfully
root@debian7:/home/submarine# exit --> ออกจาก superuser
exit
submarine@debian7:~$ su - postgres --> เปลี่ยน user เป็น postgres
Password: --> เติมรหัสผ่านของ postgres
postgres@debian7:~$ psql
psql (9.1.9)
Type "help" for help.

postgres=# CREATE USER submarine password 'xxxxxxxxxxxx' superuser;
--> คำสั่ง PostgreSQL สำหรับสร้าง user ชื่อ submarine รหัสผ่าน xxxxxxxxxxxx (รหัสผ่าน
เลือกใส่ได้ตามต้องการ) แล้วกด Enter
CREATE ROLE
postgres=# \q --> คำสั่งออกจาก PostgreSQL
postgres@debian7:~$ exit --> ออกจาก user postgres

        2.  เพื่อความสะดวกในการสร้างฐานข้อมูลสำหรับการทำเว็บ ผู้เขียนเลือกใช้ฐานข้อมูล
PostgreSQL โดยผ่านแพคเกจ PhpPgadmin ที่ติดตั้งไปแล้ว PhpPgadmin เป็น
แพคเกจที่พัฒนามาจากภาษา Php ใช้สำหรับการจัดการฐานข้อมูล PostgreSQL ผ่าน
เว็บบราวเซอร์ สามารถเรียกใช้ได้ที่ url : http://localhost/phppgadmin, http://127.0.0.0/
phppgadmin หรือ http://....IP.... ของ server สำหรับเครื่องในเครือข่าย  ดังภาพ


        ภาพแสดงเว็บเพจการจัดการฐานข้อมูล PostgreSQL เลือก PostgreSQL



        ใส่ชื่อ user และ password ที่ต้องการลอกอิน


       เลือก Create Database เพื่อสร้างฐานข้อมูล


        ผู้เขียนสร้างฐานข้อมูล ชื่อ web เลือก Encoding เป็น UTF8 เพื่อให้รองรับการใช้งาน
ภาษาไทย


         ได้ฐานข้อมูล ชื่อ web สำหรับการสร้างเว็บไดนามิก ด้วยแพคเกจ Drupal เลิกใช้งาน
ให้ logout

        3.  ดาวน์โหลดเวอร์ชั่นล่าสุดของ Drupal จาก www.drupal.org มาเก็บที่โฟลเดอร์
/var/www
        4.  เปิดเทอร์มินัล กำหนดผู้ใช้งานเป็น superusr (root) เพื่อติดตั้ง Drupal

root@debian7:/var/www# tar -xzvf drupal-7.22.tar.gz  --> แตกไฟล์ drupal-7.22.tar.gz จะได้โฟลเดอร์ ชื่อ drupal-7.22

        คัดลอกไฟล์ และโฟลเดอร์ทั้งหมดที่อยู่ในโฟลเดอร์ /var/ww/drupal-7.22 มาเก็บที่
/var/www เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน ด้วยคำสัง

root@debian7:/var/www#cp -r * drupal-7.22 /var/www

        สร้างไฟล์ /var/www/sites/default/setting.php จากไฟล์ default.settng.php
เพื่อความสะดวกเปลี่ยนไดเรคทอรี่ไปที่ site/default  ด้วยคำสั่ง

root@debian7:/var/www# cd sites/default/

root@debian7:/var/www/sites/default# ls -l --> แสดงสารบัญไฟล์
total 52
-rw-r--r-- 1 root     root     23202 May 17 08:40 default.settings.php
drwxrwxr-x 4 www-data www-data  4096 May 17 09:04 files
root@debian7:/var/www/sites/default# 

        คัดลอกไฟล์ default.setting.php ให้เป็นชื่อไฟล์ setting.php  ด้วยคำสัง

root@debian7:/var/www/sites/default# cp default.settings.php settings.php

        ไฟล์ setting.php ที่สร้างขึ้นจะเป็นไฟล์ที่กำหนดให้เว็บเพจที่ใช้ฐานข้อมูลทั้ง MySQL
และ PostgreSQL การกำหนดไฟล์นี้ผิดจะทำให้ไม่สามารถสร้างเว็บเพจด้วยแพคเกจ Drupal ได้
        แก้ไขไฟล์ setting.php ด้วยคำสั่ง pico

root@debian7:/var/www/sites/default# pico settings.php  --> กด Enter

        แก้ไขไฟล์ setting.php โดยนำเครื่องหมาย * ที่อยู่หน้าคำสั่งที่ต้องการออก (uncomment)
ดังตัวอย่างข้างล่าง

@code  --> เอา * ออก


 *   $databases['default']['default'] = array(
 *     'driver' => 'mysql',
 *     'database' => 'databasename',
 *     'username' => 'username',
 *     'password' => 'password',
 *     'host' => 'localhost',
 *     'prefix' => '',
 *   );
--> จากบรรทัดนี้เอาเครื่องหมาย * ออก
   $databases['default']['default'] = array(
     'driver' => 'pgsql',
     'database' => 'web', --> ชื่อฐานข้อมูล PostgreSQL ที่ต้องการใช้งาน
     'username' => 'submarine', --> ชื่อ user ที่สร้างฐานข้อมูล
     'password' => 'xxxxxxxxxxxx', --> รหัสของ user ที่สร้างฐานข้อมูล (ใส่ตามที่เป็นจริง)
     'host' => 'localhost',
     'host' => 'localhost',
     'prefix' => '',
   );
   $databases['default']['default'] = array(
     'driver' => 'sqlite',
     'database' => '/path/to/databasefilename',
   );
 @endcode

       บันทึกการแก้ไขไฟล์ด้วยคำสั่ง Ctrl w (กด Ctrl ค้างไว้ แล้วกด w)
       กำหนดสิทธิในการเขียน อ่านไฟล์ setting.pgp และโฟลเดอร์ default และ sites
ให้สามารถเขียน และบันทึกข้อมูลได้ ด้วยคำสั่ง chmod ดังตัวอย่าง

root@debian7:/var/www/sites/default# chmod 777 settings.php
root@debian7:/var/www/sites/default# cd ..
root@debian7:/var/www/sites# chmod 777 default/
root@debian7:/var/www/sites# cd ..
root@debian7:/var/www# chmod 777 sites/
root@debian7:/var/www#

        เนื่องจากที่โฟลเดอร์ /var/www ยังมีไฟล์ index.html ที่ได้จากการติดตั้งอยู่ เมื่อเรานำ
แพคเกจ Drupal มาสร้างเว็บเพจใหม่ ไฟล์ index.html ดังกล่าวก็ไม่ได้ใช้งานแล้ว  อาจจะลบ
ออก หรือเปลี่ยนชื่อใหม่ ในที่นี้ผู้เขียนจะเปลี่ยนชื่อใหม่

root@debian7:/var/www#mv index.html previousindex.html --> เปลี่ยนชื่อ
ไฟล์ index.html เป็น previousindex.html


        5.  ติดตั้ง Drupal ผ่านเบ็บบราวเซอร์  เรียกเว็บที่ url http://localhost/install.php
หรือ http://....IP....../install.php  จะได้ดังภาพ


        กดบันทึก และต่อไป


        เลือกภาษาอังกฤษสำหรับการติดตั้ง


        เลือกฐานข้อมูลสำหรับการติดตั้งเป็น PostgreSQL ชื่อฐานข้อมูล ชื่อ usrer และรหัสผ่าน
ของผู้สร้างฐานข้อมูลที่สร้างไว้แล้ว กดบันทึก และทำงานต่อไป


        ระบบจะติดตั้งฐานข้อมูลที่เขียนไว้มนแพคเกจ Drupal ลงบนฐานข้อมูล PostgreSQL
ชื่อ web ที่สร้างขึ้น  ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดฐานข้อมูลก็จะถูกเติมด้วยข้อมูลโดยสมบูรณ์


        เติมรายละเอียดของเว็บเพจที่จะสร้าง เช่น ชื่อ ผู้ดูแลระบบ อีเมล์ รหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ 
ประเทศ และโซนเวลา เป็นต้น  กดบันทึกข้อมูลและทำงานต่อ
        การติดตั้งสมบูรณ์ กด Visit your new site เพื่อเริ่มเขียนเนื้อหา




        เนื้อหาของเว็บ Drupal มี 2 ประเภท คือ Article สำหรับการเขียนเนื้อหาที่เป็น blog
สามารถให้แสดงความคิดเห็น โต้ตอบกับผู้ชมเว็บเพจได้  และ Basic page เป็นเว็บทางเดียว
(static web) ไม่สามารถให้แสดงความคิดเห็นผ่านเว็บได้  ผู้บริหารระบบสามารถเลือกใช้ได้
ตามความเหมาะสม
        ตัวอย่างข้างล่างผู้เขียนเลือกประเภท Article และอัปโหลดภาพประกอบ  อย่าลืม logout
ทุกครั้งหลังจัดการแก้ไขข้อมูล
        ปัจจุบันมีหนังสือเกี่ยวกับการใช้งาน Drupal วางขายอย่างแพร่หลาย ท่านสามารถหามา
เมื่อการใช้งานให้มีประสิทธิภาพยิ่ง หรือศึกษาจากเมนูในเว็บก็สามารถทำได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น